ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
ศูนย์โรคกระดูกและข้อ (Orthopedic Center)
โรงพยาบาลสัตว์เอราวัณ ได้คัดสรรทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิกดิกส์ที่มีประสบการณ์สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคยากและซับซ้อน เพื่อการทำหัตถการและการผ่าตัด ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการบริการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสัตว์ป่วยโรคกระดูกและข้ออย่างครบครัน
ไม่ว่าสัตว์เลี้ยงเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ปัญหาอื่นๆเกี่ยวกับกระดูกและข้อ หรือ ความผิดปกติทางกระดูกและข้อแต่กำเนิด ทีมสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะกำหนดแผนการรักษาแบบองค์รวมที่เหมาะสมสำหรับสัตว์แต่ละราย รวมไปถึงแนวทางการฟื้นฟู เพื่อช่วยให้สัตว์ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี กลับไปดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ
ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
เราไม่หยุดพัฒนา ทางศูนย์ศัลยกรรมมุ่งเน้นการพัฒนาห้องผ่าตัดใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในด้านการรักษาสัตว์ป่วยที่ต้องใช้การผ่าตัดเป็นหลัก ภายในห้องผ่าตัดมีเครื่องมือผ่าตัดที่ทันสมัย นอกจากนี้ห้องผ่าตัด มีชุดอุปกรณ์ดมยาสลบ มีโคมไฟส่องผ่าตัดที่ให้ภาพคมชัด เพื่อช่วยให้การผ่าตัดแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงการติดตั้งกระจก สำหรับการมองเห็นระหว่างห้องควบคุมและห้องปฏิบัติการ มีระบบการไหลเวียนอากาศภายในห้อง (ระบบความดันบวก) สามารถลดภาวะปนเปื้อนของละอองสิ่งสกปรกต่างๆ ในอากาศทำให้ลดการติดเชื้อลง เพื่อเสริมความปลอดภัยให้แก่ สัตว์ป่วย และบุคลากรที่อยู่ภายในและนอกห้องผ่าตัด
วิธีการรักษาสภาวะกระดูกแตกหัก สามารถแบ่งได้หลักๆ ดังต่อไปนี้
การใส่เฝือก
- เป็นวิธีการรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด วิธีนี้สัตว์ป่วยจะถูกจำกัดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน จากการใส่เฝือกหรือต้องพักแอดมิดในโรงพยาบาล ซึ่งความเสี่ยงของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ อาจทำให้กล้ามเนื้อเล็กลีบ ข้อยึดติดหรือเกิดแผลกดทับได้
การผ่าตัดรักษากระดูกขาหักด้วยพิน
- เป็นวิธีการรักษาด้วยการสอดแท่งเหล็กสแตนเลส เข้าไปไว้ในโพรงกระดูกทั้งสองข้างที่หักออกจากกัน เพื่อจัดให้กระดูกที่หักมาอยู่ระนาบเดียวกันเหมือนเดิมมากที่สุดและเซลล์ของกระดูกก็จะทำหน้าที่ประสานกระดูกที่หักออกจากกันให้มาเชื่อมต่อกันตามธรรมชาติ ทั้งนี้กระดูกที่หักจากกันนั้นต้องถูกยึดโยงด้วยพินให้อยู่นิ่งและมีเสถียรภาพมั่นคงมากพอที่จะต้านทานแรงบิดและแรงรั้งของกล้ามเนื้อ บริเวณรอบกระดูกที่หักจากกันจะทำให้การประสานเชื่อมต่อกระดูกเป็นไปด้วยดี
การผ่าตัดรักษากระดูกขาหักด้วยเพลทและสกรู
- เป็นวิธีการรักษากระดูกหักที่มีประสิทธิภาพในการยึดโยงให้กระดูกที่หักออกจากกันมาอยู่แนบชิดติดกันและมีเสถียรภาพมั่นคง ในแง่ของการยึดกระดูกที่หักแต่เดิมไว้ได้ดีกว่าแบบการรักษาโดยใช้พินอย่างมีนัยสำคัญ ที่สำคัญคือเพลทและสกรูจะสามารถยึดให้กระดูกที่แตกหักออกจากกันให้เข้ามาอยู่ใกล้เคียงกับแนวเดิมตามธรรมชาติได้มากที่สุด และการประสานต่อเชื่อมกันโดยเซลล์กระดูกก็เป็นไปในลักษณะที่ต่างไปจากวิธีการใส่พิน โดยที่รอยเชื่อมต่อของกระดูกจะเรียบเสมอเป็นเนื้อเดียวกันโดยปราศจากรอยพอกปูดโปนของกระดูกบริเวณที่หักเหมือนอย่างเช่นการเชื่อมต่อแบบกระดูกพอกแต่อย่างใด
การผ่าตัดรักษากระดูกเชิงกรานหักด้วยเพลทและสกรู
- เป็นวิธีการใช้เพลทและสกรูไปยึดกระดูกเชิงกรานที่หักเพื่อทำให้สภาพโครงกระดูกเชิงกรานกลับเข้าสู่สภาพเดิมมากที่สุด เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาช่องเชิงกรานตีบแคบ ซึ่งจะก่อปัญหาตามมามากมาย เช่น การคลอดยากในกรณีที่เป็นเพศเมีย หรือ เกิดปัญหาท้องผูกขับถ่ายไม่ปรกติหากสภาพช่องเชิงกรานที่แตกหักเชื่อมต่อกันแบบตีบแคบผิดปรกติอย่างมากเนื่องจากการถูกปล่อยปละละเลยไม่ได้รับการผ่าตัดรักษา เป็นต้น
การผ่าตัดหัวกระดูกต้นขา
- เป็นการแก้ไขปัญหากรณีหัวกระดูกต้นขาแตกหัก โดยใช้วิธีการตัดหัวกระดูกที่หักออกทิ้งไป แล้วปล่อยให้เกิดเป็นข้อสะโพกเทียม ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสร้างพังผืดมายึดโยงข้อเข้าไว้ด้วยกัน
การผ่าตัดแก้ไขสะบ้าหัวเข่าเคลื่อนไปจากตำแหน่งปกติ
- เป็นวิธีการแก้ไขความผิดปกติของสะบ้าหัวเข่าที่เคลื่อนไปจากตำแหน่งปกติ เนื่องจากร่องสำหรับสะบ้าหัวเข่าตื้น หรือความผิดปรกติของรูปทรงกระดูกขาส่วนต้นและกระดูกส่วนล่างถัดจากกระดูกส่วนต้นขาลงมาที่ผิดไปจากปกติ
การตัดขา
- เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาสภาพที่ปลายเท้าเกิดการติดเชื้อรุนแรงจนไม่สามารถเยียวยารักษาให้หายเป็นปรกติได้ หรือกรณีกระดูกส่วนปลายเสียหายอย่างรุนแรงมากจนไม่สามารถรักษากระดูกที่แตกเสียหายให้คืนกลับสู่สภาพปรกติได้